หันไปดูเฟิร์นที่สวยๆข้างบ้าน ตาย ตาย ตายไปเกือบหมดแล้ว หน้าหนาวปีนี้ไม่มีพืชพันธ์สวยๆให้ดูมากนักเหลือแต่ที่ทนแดดทนฝน เหมือนเจ้าของบ้านมิปาน จึงเหลือรอดมาให้ดูต่างหน้ากัน ชิชะ น่าน้อยใจนัก ..........
มาดูเฟิร์นกันต่อ ดีกว่า....
นี่เลยต้นนี้แหละ(เขาเรียกว่ากระเช้าสีดา)แต่ว่ามันตายไปแล้ว ตายไปจริงๆๆแหลือแต่ตอดำเกาะอยู่กับต้นปีบ เสียดายมาก น้องชายให้มาเขาเลี้ยงของเขามานานมาก มาอยู่กับเราไม่ถึง 2 ปี ลาไปแล้ว ทำไมเราถึงแย่อย่างนี้
ตรงนี้ก็มี เหลือแต่ผีเสื้อกับดอกส้ม ต้นส้มเขียวหวานมันงอกมาต้นหนึ่ง เจ้ามีดอกด้วย คุณผีเสื้อไม่ไปไหนเลยเกาะทั้งวันจนคิดว่าดอกส้มแย่แน่ๆบางครั้งแกล้งเอาไม่ไปใกล้ๆเผื่อรู้สึกตัวบ้าง
จะปล่อยให้ดอกส้มชูช่ออย่างสวยงาม มันบินหนี แต่แล้วก็กลับมาอีกจนแล้วจนรอดเราก็ยอมแพ้มัน
สุพรรณนิการ์ต้นนี้ เชื่อหรือไม่ว่า ปลวกกินต้นจนดำผุผุ ไปหมดเลยต้องตัดทิ้งไป โอ้ย อะไรนี่
จริงๆแล้วชอบเฟิร์น จะว่าหลงไหลก็เห็นจะได้ ตั้งแต่เด็กเกิดมาก็เห็นเฟิร์นชอบเอามาเล่นขายของ ใบมันสวย กว่าต้นไม้ชนิดอื่น ตัดไว้ค้างคืนบางครั้งมันไม่เหี่ยวง่ายๆ อ้อจริงๆแล้วที่บ้านไม่ได้ปลูกหรอกมันขึ้นของมันเองแหละ ริมถนน ข้างบ้าน ข้างโรงเรียน อ้อบางครั้งยังเด็ดมาทำอาหารด้วย จำชื่อไม่ได้คล้ายๆผักกูด เอามาทำแกงเลียง สีม่วงๆนะ พอมีบ้านก้อยากปลูกบ้างเพราะชอบอยู่แล้วแต่ไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ ได้แต่ชื่นชมในเว็บของคนอื่นงั้นแหละ
มาดูความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเฟิร์นกันบ้างข้อความนี้คัดลอกมาจาก เว็บไซด์ไทเฟิร์น
"เฟิน" หรือชาวบ้านเรียกว่า "ผักกูด" เกิดขึ้นในโลกใบนี้มาหลายร้อยล้านปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยที่โลกของเรา เริ่มมีสิ่งมีชีวิตชื้นแฉะไปด้วยน้ำ และหนองบึง จากยุคนั้นจนถึงปัจจุบัน เฟินบางชนิดก็ได้สูญพันธุ์ หรือกลาย พันธุ์ไปตามกาลเวลา ที่เหลืออยู่ และที่สำรวจพบมีเป็นหมื่น ๆ ชนิด และก็มีไม่น้อยที่ยังอยู่ในป่าเขาที่เร้นลับ ยังสำรวจไม่พบมีอีกมากมายเช่นกัน ในเมื่อเฟินมีมากมายเช่นนี้จึงมีการแบ่งเฟินออกได้หลายลักษณะ อาจแบ่งตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น กลุ่มของเฟินดิน เฟินอากาศ เฟินน้ำ เป็นต้น แบ่งตามสภาพภูมิอากาศ หรือแบ่งตามวงศ์ (Family) ซึ่งดูจะเป็นสากลมากที่สุด |
เฟิน เป็นพืชที่ไม่มีดอก ไม่มีผล ไม่มีเมล็ดสำหรับแพร่พันธุ์ แต่เฟินมีสปอร์ ซึ่งเกิดที่ใต้ใบ เป็นสิ่งที่ใช่ในการสืบพันธุ์ ได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องของวงจรชีวิตเฟิน ลักษณะที่พิเศษของเฟินคือการเกิดสปอร์สำหรับสืบพันธุ์ที่ใต้ใบแล้ว ยอดอ่อนของเฟินจะขดเป็นลักษณะ"รูปก้นหอย" (หอยโข่งนะครับ ไม่ใช่หอยแครง) จากนั้นก็จะค่อย ๆ คลี่ก้าน และใบออกมา ประโยชน์ของเฟินนอกจากเป็นปลูกไม้ประดับแล้ว ยอดอ่อนของเฟินบางชนิดเช่น กูดห้วย ยังสามารถนำมาเป็นอาหารได้ด้วย บางประเทศทำยอดอ่อนของเฟินมาทำเป็นอาหารว่าง นอกจากนั้นยังนำมาใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรคได้อีก เช่น กูดใบเล็กใช้เป็นยาห้ามเลือด หรือเหง้าแก่ของเฟินนาคราชใช้เป็นยาแก้พิษงู แมลงกัดต่อยได้ และยังทำมาทำเป็นเครื่องรางของขลังเพื่อป้องกันสัตว์มีพิษได้ด้วย (ไม่เชื่ออย่าลบหลู่) ในภาคใต้ชาวบ้านนำเถาของเฟินย่านลิเภามาทำเป็นเครื่องจัดสานได้หลายอย่าง |
มาดูเฟิร์นบ้านคนอื่นกันเถอะ สวยมากๆ
มาจากเว็บ thailand exotics
มาจากเว็บ thailand exotics
No comments:
Post a Comment