อยุธยามรดกโลก ตอนที่ 2
















ตลอด
ระยะเวลา 417 ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแห่งราชอาณาจักรไทย มิได้เป็นเพียง
ช่วงแห่งความเจริญสูงสุดของชนชาติไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างสรรค์อารยธรรมของหมู่มวล
มนุษยชาติซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่นานาอารยประเทศอีกด้วย แม้ว่ากรุงศรีอยุธยาจะถูกทำลายเสียหายจาก
สงครามกับประเทศเพื่อนบ้านหรือจากน้ำมือการบุกรุกขุดค้นของพวกเรากันเอง แต่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนี้ยังมีร่องรอยหลักฐานซึ่งแสดงอัจฉริยภาพและ
ความสามารถอันยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษแห่งราชอาณาจักรผู้อุทิศตนสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองทาง
ศิลปวัฒนธรรม และความมั่งคั่งไว้ให้แก่ผืนแผ่นดินไทย หรือแม้แต่ชาวโลกทั้งมวล จึงเป็นที่น่ายินดีว่า
องค์การ ยูเนสโก้ โดยคณะกรรมการมรดกโลกได้มีมติรับนครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา
ซึ่งมีอาณา เขตครอบคลุมอุทยานประวัติศาสตร์พระ
นครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับการจัดตั้ง
เป็น อุทยาน ประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519 ไว้ในบัญชีมรดกโลก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 ณ กรุงคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชรโดยจะมีผลให้ได้ รับความ คุ้มครองตามอนุสัญญาที่ประเทศต่างๆได้ทำร่วมกัน จึงสมควรที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ไปศึกษาเยี่ยมชมเมือง หลวงเก่าของเราแห่งนี้
สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาส่วนใหญ่เป็นโบราณสถาน ได้แก่
วัด และ พระราชวังต่างๆ พระราชวังในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีอยู่ 3 แห่ง คือ
-พระราชวัง หลวง วังจันทรเกษม หรือวังหน้า และวังหลัง นอกจากนี้ยังมีวังและตำหนักนอกอำเภอพระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นที่สำหรับเสด็จ ประพาส ได้แก่
-พระราชวังบางปะอิน ในเขตอำเภอบางปะอิน
-และตำหนักนครหลวง ในเขตอำเภอนคร หลวง

ต่อจากตอนที่หนึ่งสำหรับการท่องเที่ยวนำชมสถานที่

5.วัดไชยวัฒนาราม

เป็นพระอารามหลวงสมัยอยุธยา ที่สร้างขึ้นในสมัยของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาองค์ที่ 24 ซึ่งเป็นยุคที่ศาสนาเจริญรุ่งเรือง สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดไชยวัฒนารามขึ้นเมื่อ พ.ศ.2137 ในบริเวณนิวาสถานของพระราชชนนีเพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระราชมารดา วัดตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งตะวันตกของเกาะเมือง ตรงข้ามกับพระตำหนักสิริยาลัย ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา


เดิมวัดไชยวัฒนาราม มีชื่อว่า “วัดชัยวัฒนาราม” ซึ่งสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า วัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือกรุงละแวก (พนมเปญในสมัยนั้น) จึงใช้คำว่า “ชัย” ที่หมายถึงชัยชนะ แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น “วัดไชยวัฒนาราม” เพราะคำว่า “ ไชย” หมายถึงไชโย เป็นการประกาศความยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และครอบคลุมรวมทั้งหมดรวมถึงชัยชนะด้วย

สำหรับ การสร้างวัดนั้น สมเด็จพระเจ้าปราสาททองซึ่งเป็นกษัตริย์สมัยอยุธยาตอนปลายทรงสร้างปรางค์ ขนาดใหญ่เป็นประธานของวัด เท่ากับเป็นการรื้อฟื้นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้นที่นิยมสร้างปรางค์เป็นประธาน ของวัด เนื่องจากพระองค์ทรงได้เมืองเขมรมาอยู่ใต้อำนาจ จึงได้นำรูปแบบสถาปัตยกรรมขอมเข้ามาใช้ในการสร้างพระปรางค์ของวัดไชยวัฒนา รามนี้ด้วย โดยตั้งใจจำลองแบบมาจากปราสาทนครวัด ในประเทศกัมพูชา

พระปรางค์ประธานนั้นมีชื่อว่า “พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ” ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส ที่มุมฐานมีปรางค์ทิศประจำอยู่ทั้ง 4 ทิศ รอบพระปรางค์ใหญ่ล้อมรอบไปด้วยระเบียงคตที่เดิมนั้นมีหลังคา แต่ปัจจุบันพังทลายลงมาแล้ว ภายในระเบียงคตประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยสร้างด้วยหินทรายที่ เคยลงรักปิดทองจำนวน 120 องค์ เป็นเสมือนกำแพงเขตศักดิ์สิทธิ์ แต่ปัจจุบันพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยเหล่านั้นนั้นไม่มีเศียร เพราะถูกขโมยตัดเศียรไปขาย และหาสมบัติที่เล่ากันว่าซ่อนอยู่ภายในพระพุทธรูป

และที่แปลกจากวัด อื่นๆอีกก็คือที่นี่มีใบเสมาที่ทำด้วยหินสีเขียว ซึ่งคล้ายกับหินดินดำแต่มีสีเขียว แกะสลักเป็นลวดลายประจำยาม 4 แฉกเหมือนดอกไม้ นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถที่สร้างอยู่ทางด้านหน้ากำแพงเมรุทิศเมรุราย นอกระเบียงคต ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน ข้างๆมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง และมีปรางค์เจดีย์ขนาดย่อมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งสร้างขึ้นมาในภายหลัง

ความ สำคัญของวัดนี้นอกจากจะเป็นวัดที่มีความสวยงามและมีการก่อสร้างไม่ เหมือนวัดอื่นๆแล้ว วัดนี้ยังเป็นที่ฝังศพของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ หรือเจ้าฟ้ากุ้ง พระราชโอรสในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและกวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลาย และเจ้าฟ้าสังวาลย์ ซึ่งต้องพระราชอาญาโบยจนสิ้นพระชนม์ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เนื่องจากเจ้าฟ้ากุ้งไปรักกับเจ้าฟ้าสังวาลย์ พระชายาในพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คนกรุงเก่าเล่าว่า เพลาใดที่เป็นคืนเดือนเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงอาจจะได้เห็นชายหญิงแต่เครื่อง กษัตริย์มาเดินอยู่ในวัดแห่งนี้

และยังมีเรื่องเล่ากันว่า สมัยก่อนคนมักศึกษาด้านไสยศาสตร์ คาถาอาคม และเมื่อคราวก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 วัดไชยวัฒนารามถูกแปลงเป็นค่ายตั้งรับศึก ทหารที่ต้องออกศึกสงครามก็เป็นห่วงครอบครัว ลูกเมียที่บ้าน เกรงว่าจะเกิดภัยอันตรายจึงได้ใช้คาถาอาคมผนึกบ้านเรือนของตนไว้ พรางตามิให้ข้าศึกศัตรูเห็นได้ ซึ่งในปัจจุบันชาวบ้านในละแวกวัดไชยฯ ก็เคยเห็นทหารใส่ชุดนักรบโบราณปรากฏตัวให้เห็นบ่อยครั้ง บ้างก็ถ่ายรูปที่วัดไชยฯ แล้วติดรูปหญิงสาวในชุดไทย จนเรื่องเล่าเหล่านี้ได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และละครเรื่อง “เรือนมยุรา” ซึ่งจะจริงแท้ประการใดก็แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบุคคล

แต่อย่างไรก็ตาม วัดไชยวัฒนารามแห่งนี้ก็ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดอยุธยา ที่ยังคงความงดงามและเสน่ห์ของพระอารามเมืองกรุงเก่าไว้เช่นเดิม


6.วังจันทร์เกษม
ตั้ง อยู่ริมแม่น้ำป่าสักมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมืองใกล้ตลาดหัวรอ สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยังทรงเป็นมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. 2112 เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระยุพราช และพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ เมื่อคราวเสียกรุงในปี พ.ศ. 2310 วังนี้ได้ถูกข้าศึกเผา
ทำลายเสียหายมากและถูกทิ้งร้างจนถึงรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้โปรดฯ ให้ซ่อมพระที่นั่งพิมานรัตยา และพลับพลาจตุรมุขเป็นที่ประทับเมื่อเสด็จประพาสพระนครศรีอยุธยา ต่อมาในรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานให้เป็นที่ว่าการมณฑลอยุธยา และรัชกาลที่ 7 โปรดฯ ให้เปลี่ยนเป็นศาลากลางจังหวัดจนกระทั่งได้สร้างศาลากลางใหม่แล้ว กรมศิลปากรจึงได้เข้ามาดูแลและจัดทำเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษมจน กระทั่งปัจจุบันเปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 30 บาท รายละเอียดติดต่อ โทร. (035) 251586
พลับพลา จตุรมุข เป็นพลับพลาเครื่องไม้ ตั้งอยู่บนศาลาใกล้ประตูวังด้านทิศตะวันออก เดิมเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เวลาเสด็จประพาส ปัจจุบันจัดแสดงเครื่องชามลายครามของจีน อาวุธสมัยโบราณ และเครื่องราชูปโภคของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งพิสัยศัลยลักษณ์ (หอส่องกล้อง)เป็นหอสูงสี่ชั้นอยู่ที่ริมพระราชวังด้านทิศตะวันตก สร้างในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่หักพังลงมาเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 หอที่เห็นอยู่ในปัจจุบันสร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ตามรากฐานเดิม ทรงใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดาว
กำแพงและประตูวัง เป็นสิ่งที่สร้างใหม่ในรัชกาลที่ 4 ของเดิมมีอาณาเขตกว้างขวางกว่าที่เห็นในปัจจุบัน เพราะขุดพบรากฐานของพระที่นั่งนอกกำแพงวัดด้านใน และพบซากอิฐ ในบริเวณเรือนจำหลายแห่งพระที่นั่งพิมานรัตยา เป็นตึกหมู่อยู่กลางพระราชวัง เคยเป็นที่ตั้งศาลากลางมณฑลและจังหวัดมาหลายปี ปัจจุบันแสดงพระพุทธรูป เทวรูป พระพิมพ์สมัยต่างๆ และเครื่องไม้จำหลักสมัยอยุธยา


7.วัดพระรามและบึงพระราม

วัด พระรามนั้น คาดว่าถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๑๒ ในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร ซึ่งเป็นบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑(พระเจ้าอู่ทอง) พระราชบิดา แต่พระองค์ทรงครองราชได้เพียงแค่ปีเดียว จึงเข้าใจกันว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ทรงได้ช่วยเหลือให้สร้าง จนสำเร็จก็ได้ หรืออาจจะสร้างเสร็จเมื่อสมเด็จพระราเมศวรเสวยราชย์ครั้งที่ ๒ ก็เป็นไปได้

สิ่งก่อสร้าง
ปัจจุบันซากปรักหักพังเหลือแต่ พระปรางค์ กำแพงด้านหนึ่ง และ เสาในพระอุโบสถ วิหาร ๗ หลัง

พระปรางค์
พระปรางค์องค์ใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม สูงแหลมขึ้นไปด้านบน ทางด้านทิศตะวันออก มีพระปรางค์องค์ขนาดกลางองค์ ส่วนทางตะวันตกทำเป็นซุ้มประตู มีบันไดสูงจากฐานขึ้นไปทั้งสองข้าง ที่มุมปรางค์ประกอบด้วยรูปสัตว์หิมพาน มีปรางค์ขนาดเล็กตั้งอยู่ทางทิศเหนือ และ ใต้ รอบๆปรางคืเล็กมีเจดีย์ล้อมรอบอีก ๔ ด้าน

วิหาร
วิหารใหญ่ อยู่ทางตะวันออกของพระปรางค์ อยู่ด้านหน้าวัด มีทางเดินต่อกับประปรางค์
วิหารน้อย อยู่ทางด้านทิศใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นวิหารที่มีด้านหลัง เชื่อมต่อกับเจดีย์ใหญ่ ซึ่งหักพังไปแล้ว
วิหาร อยู่ทางมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นวิหารขนาดกลาง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีเจดีย์ใหญ่ ฐานสี่เหลี่ยมอยู่หลังวิหาร
วิหารน้อย หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทางด้านตะวันตกเฉียงใต้มีเจดีย์เล็กองค์หนึ่ง
วิหารเล็ก อยู่ด้านหน้าของพระอุโบสถ มีประตูด้านละ ๑ ประตู
วิหาร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมองค์หนึ่ง ปรักหักพังเช่นกัน
วิหาร อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของปรางค์ มีขนาดเล็กกว่าวิหารด้านตะวัน ปัจจุบัน เหลือแต่ฐาน


8.ปางช้าง
และเพนียด
เปิด ให้บริการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ ด้วยเจตนารมณ์จะลดปัญหาการเข้ามาเร่ร่อน หากินในเมืองหลวงของช้างและควาญช้าง คุณสมพาสน์ มีพันธุ์ จึงรวบรวมช้าง และควาญ
เหล่านั้นเข้าด้วยกัน แล้วทำการฝึกอบรม เพื่อใช้ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว
จนถึงวันนี้ "ปางช้าง" เปลี่ยนเป็น "วังช้าง" มีช้างในสังกัด 60 เชือก และช้างสมาชิกอีกราว 50 เชือก รวมแล้วมีช้างกว่า 100 เชือก ที่หมุนเวียนบริการ นักท่องเที่ยว ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์

ประวัติโดยย่อ
ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2540 โดยได้รับการสนับสนุนจากกรมศิลปากร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เดิมได้ตั้งชื่อว่า ปางช้างอยุธยา แล เพนียด และได้เปลี่ยนชื่อ ใหม่เป็น วังช้างอยุธยา แล เพนียด เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของและสถานที่ ที่อยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และเป็นพื้นที่มรดกโลก คำว่า แล หมายถึง แลมอง แลเห็น แลดู เป็นคำโบราณ เพนียด หมายถึง โบราณสถาน เป็นที่ จับช้างโบราณ ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ความหมายรวม คือ เป็นสถานที่ทำงานของช้าง และดูแล ได้ รวบ รวม ช้าง ซึ่ง เป็นสัตย์ ที่ เกี่ยว ข้อง กับ ประวัติศาสตร์ คู่ อยุธยา มานานาน เพื่ออนุรักษ์ ให้ ชนรุ่นหลัง ได้สัมผัส ช้างไทย พร้อม บริการ นักท่องเที่ยว ทั้ง ชาวไทย และ ต่างชาติ มีบริการขี่ช้างทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น.

มี บริการขี่ช้างตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. ราคา 200-500 บาท รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ โทร. (035) 211001 ตั้งอยู่ระหว่างทางไปวิหารมงคลบพิตร
นอกจากนี้ยังมีเจดีย์เล็กบ้าง ใหญ่บ้างอยู่รอบๆ องค์พระปรางค์ประมาณ ๒๘ องค์ วัดพระรามนี้เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่ง คือ กำแพงวัดพระรามด้านเหนือ มีแนวเหลื่อมกันอยู่ กำแพงด้านตะวันออก ตะวันตก และด้านใต้ มีซุ้มประตูค่อนไปทางทิศตะวันตก ได้ระดับกับมุมระเบียงด้านตะวันตกเฉียงหนือของปรางค์ส่วนแนวเหลื่อมนั้นได้ ระดับ กับมุมระเบียงตะวันออกเฉียงเหนือของปรางค์ ไม่มีซุ้มประตู คล้ายเจตนาสร้างไว้เพื่อประสงค์อะไรอย่างหนึ่ง



9.คุ้มขุนแผน

ตั้งอยู่ที่ถนนป่าโทน เป็นตัวอย่างของหมู่เรือนไทยภาคกลาง ในรูปแบบเรือนคหบดีไทยสมัยโบราณ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2437 และได้รับการปรับปรุงตกแต่งใหม่เมื่อ พ.ศ. 2483 บริเวณที่ตั้งคุ้มขุนแผนเคยเป็นคุกนครบาลสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเชื่อกันว่าขุนแผนเคยต้องโทษอยู่ในคุกแห่งนี้


10.วัดมหาธาตุ
ตั้งอยู่ตรงหน้าพระราชวังด้านทิศตะวันออกเชิงสะพานป่าถ่าน สร้างใน สมัยของสมเด็จพระราเมศวรเมื่อ พ.ศ.1927 ลักษณะสถาปัตยกรรมของพระมหาธาตุ (ปรางค์) เป็นแบบแรกของสมัยอยุธยา ซึ่งมีอิทธิพลของขอมปนมาก ชั้นล่างก่อสร้างด้วยศิลาแลง แต่ที่ เสริมใหม่ปัจจุบัน เป็นอิฐปูนสมเด็จ พระเจ้าปราสาททอง ได้ปฏิสังขรณ์พระปรางค์ใหม่โดยเสริม ให้สูงกว่าเดิม แต่ขณะนี้ยอดพังลงมา เหลือเพียงชั้นมุขเท่านั้น เมื่อ พ.ศ. 2499 กรมศิลปากร ได้ขุดแต่งพระปรางค์แห่งนี้ ได้ของโบราณหลายชิ้น ที่สำคัญคือผอบศิลา ภายในมีสถูป 7 ชั้น แบ่งออกเป็น ชิน เงิน นาก ไม้ดำ ไม้จันทร์แดง แก้วโกเมนและทองคำ ชั้นในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและเครื่องประดับอันมีค่า

11.พระรานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย
อยู่ในเกาะเมืองด้านทิศตะวันตก เป็นโบราณสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระ
นครศรีอยุธยา เพราะสถานที่นี้มิได้เป็นเพียงอนุสรณ์สถานของวีรสตรีไทยพระองค์แรก เท่านั้น หากแต่ยังหมายถึงการยืนยัน เกียรติแห่งสตรีไทย ที่ได้รับการยกย่องจากสังคมไทยมาแต่ครั้ง บรรพกาลอีกด้วยเรื่องมี อยู่ว่าในขณะที่ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิขึ้นครองราชย์ได้เพียง 7 เดือน เมื่อ พ.ศ. 2091 พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และ บุเรงนอง ยกทัพเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรกโดยผ่านมาทางด้านด่าน พระเจดีย์สามองค์จังหวัดกาญจนบุรี และ ตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของสมเด็จ พระสุริโยทัยซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวาง พระเจ้าแปร ด้วยเกรงว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรด ิพระราชสวามีจะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสา ขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงปลงพระศพของพระนาง และสถาปนาสถานที่ปลงพระศพ ขึ้นเป็นวัดสบสวรรค์ (หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์) ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการสอบสวนหาตำแหน่งสถานที่ต่างๆ ที่กล่าวถึงในพระราชพงศาวดารเพื่อเรียบเรียง เป็นหนังสือประชุม พงศาวดารขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายจึงเป็นเหตุให้ทราบตำแหน่งของวัดสบสวรรค์ ซึ่งยังคงพบเจดีย์ แบบย่อไม้สิบสอง สูงใหญ่ปรากฏตามที่ตั้งในปัจจุบันนี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงขนานนามเรียกชื่อเจดีย์ว่า "เจดีย์พระศรีสุริโยทัย" ในปี พ.ศ. 2533 รัฐบาลได้มอบให้กรมศิลปากร และกรป.กลาง ดำเนินการบูรณะซ่อมแซมเสริมรูปทรงพระเจดีย์ที่ชำรุดให้อยู่ในสภาพเดิมเป็นที่น่ายินดีว่าในวันที่ 20 พฤษภาคม 2533 กรมศิลปากรได้พบศิลปวัตถุโบราณ เช่น พระพุทธรูปผลึกแก้วสีขาวปางมารวิชัย พระเจดีย์จำลอง ผอบทองคำบรรจุพระธาตุ เป็นต้น ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

-วังหลัง
ตั้งอยู่ริมกำแพงพระนครศรีอยุธยาด้านทิศตะวันตก เดิมเป็นอุทยานสำหรับเสด็จประพาสเป็นครั้งคราวเรียกว่า สวนหลวง และคงจะปลูกแต่เพียงตำหนักที่พักเท่านั้น ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาได้โปรดให้ สร้างเพิ่มเติมเป็นพระราชวัง เพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเอกาทศรถ ต่อมาวังหลังได้กลายเป็นที่ประทับ ของเจ้านายในพระราชวงศ์เท่านั้น จึงไม่ปรากฏสิ่งสำคัญหลงเหลืออยู่นอกจากเจดีย์พระศรีสุริโยทัย

-สวนศรีสุริโยทัย
ตั้งอยู่ใกล้กับเจดีย์พระศรีสุริโยทัย สวนศรีสุริโยทัยนี้ ประกอบด้วยศาลาอเนกประสงค์ พลับพลาสมเด็จพระสุริโยทัย เนินเสมาหินอ่อนโบราณอายุกว่า 400 ปี บรรจุชิ้นส่วน พระพุทธรูปที่ชำรุดอัญเชิญมาจากวัดพุทไธศวรรย์ (พระตำหนักเวียงเหล็กของพระเจ้าอู่ทอง) ฯลฯ องค์การสุราฯ เป็นผู้สร้างสวนนี้ เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายอดีตพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในที่ดินซึ่งเคยเป็นเขตพระราชฐานชั้นใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อ "สวนศรีสุริโยทัย" เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2532 และองค์การฯ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายสวนนี้แด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น

-สวนสมเด็จพระศรีนัครินทร์
หรือเรียกกันว่าสวนสมเด็จฯ ตั้งอยู่บนถนนอู่ทอง ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเมือง เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ประกอบด้วยต้นไม้ในวรรณคดีโบราณสถาน และศาลาไทย นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาพื้นที่เป็นสวนป่าสมุนไพรอีกด้วย


15.วัดพุทไธศวรรค์
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำทางด้านใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง หากเดินทางโดยรถยนต์และใช้เส้นทางสายอยุธยา-เสนา ทางทิศตะวันตกของเกาะเมือง ข้ามสะพานวัดกษัตราธิราชแล้วเลี้ยวซ้าย จะผ่านวัด ไชยวัฒนาราม มีป้ายบอกทางเป็นระยะไปจนถึงทางแยกซ้ายเข้าวัดพุทไธศวรรย์วัดนี้สร้างขึ้น บริเวณที่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองอพยพมาสร้างเมืองใหม่ เดิมบริเวณนี้เรียกว่า "เวียงเล็ก" หรือ "เวียงเหล็ก" ซึ่งเป็นตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจคือ พระปรางค์ประธานองค์ใหญ่เป็นศิลปะแบบอยุธาตอนต้น เข้าไปภายในวัดจะพบอนุสาวรีย์ 3 กษัตริย์ พระนเรศวรมหาราช พระเจ้าอู่ทอง และพระเอกาทศรถ


16.วัดภูเขาทอง
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากพระราชวังหลวงไปประมาณ 2 กม. (ทางเดียวกันกับเส้นทางไปจังหวัดอ่างทอง ทางหลวงหมายเลข 309) จะมีป้ายบอกทางแยกซ้ายไปวัดภูเขาทอง วัดภูเขาทองนี้ หนังสือคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า สมเด็จพระราเมศวร ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. 1930 เมื่อบุเรงนองยกมาตีกรุงศรีอยุธยาได้เมื่อ พ.ศ. 2112 ได้สร้างพระเจดีย์ภูเขาทองขึ้นไว้เป็นที่ระลึก ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมโกศโปรดให้ซ่อมองค์พระเจดีย์ตอนบนเป็นแบบไทยพร้อมๆกันกับการ

บูรณะวัด ขณะนี้จึงปรากฏว่าฝีมือช่างมอญเดิมเหลือเพียงฐาน
ทักษิณ สูงขึ้นไปเป็นพระเจดีย์ย่อไม้สิบสองฝีมือช่างไทย บริเวณทางเข้าปัจจุบันได้สร้างพระราชานุสาวรีย์พระนเรศวรมหาราช (จะเห็นได้ดังรูป วัดภูเขาทองจะตั้งอยู่ด้านหลัง)


No comments:

Post a Comment