เที่ยวเมืองมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา
หลายต่อหลายครั้งที่ได้ไปเที่ยวอยุธยาไม่เคยเบื่อที่จะได้มารำลึก
ถึงกลิ่นอายของความรุ่งเรืองในวันเก่าของเมืองเก่าแห่งนี้ พระนครศรีอยุธยาเมืองมรดกโลก
อดีตผ่านมาเมืองกรุงศรีอยุธยา อดีตราชธานีไทยที่มีอายุยืนนานมาถึง 417 ปี
ในอดีตเป็นมหานครที่สุดแห่งหนึ่งที่งดงามรุ่งเรืองที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปเอเชีย
พรั่งพร้อมด้วยมหาปราสาทราชวัง วัดวาอาราม แหล่งชุมชน ตลาดบกตลาดน้ำ
ตลาดป่า พ่อค้าวานิชย์เรือกำปั่นจากต่างชาติ ทั้งจีน ฝรั่ง ญี่ปุ่น อินเดีย และอาหรับ
เดินทางไปมาค้าขายอยู่ไม่ขาด แม้ว่ามหานครแห่งนี้จะถูกทำลายลงแล้ว
ด้วยไฟสงครามแต่ร่องรอยหลักฐานที่ยังคงเหลืออยู่ ก็เป็นเสมือน
ขุมทรัพย์ทางปัญญาอันยิ่งใหญ่ที่เราลูกหลานไทยรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้
และรักที่จะได้สัมผัสวัฒนธรรมอันเก่าแก่ยิ่งนัก(ขอบคุณนิตยสารอ.ส.ท.ข้าพเจ้าจะใช้คู่มือของ อ.ส.ท.เป็นไกด์ไลน์ทุกครั้งที่ไปไหนๆ
กรุงศรีอยุธยา เป็นอดีตราชธานีของราชอาจักรไทย ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-23 เป็นระยะเวลาอันยาวนานถึง 417 ปี ช่วงเวลาอันยาวนานนี้ได้สร้างสรรค์ผลงานทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและหล่อหลอมขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ความเป็นไทยตกทอดมาจวบจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นต้นแบบของกรุงเทพมหานครอีกด้วย องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จึงประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์พระ นครศรีอยุธยาเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2534
ศิลปโบราณวัตถุของอยุธยามีอยู่เป็นจำนวนมาก ด้วยความรุ่งเรืองอันยาวนานตั้งแต่ครั้งเป็นแคว้นอโยธยา แต่ส่วน ใหญ่ที่เหลืออยู่เป็นศาสนสถาน เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ และพระพุทธรูป สามารถแบ่งได้เป็นยุคสมัย ดังนี้
สมัยอโยธยา เป็นช่วงเวลาก่อนที่พระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยา ศิลปกรรมต่าง ๆ สืบทอดมาจากสมัย ทวารวดี นิยมสร้างพระพุทธรูปด้วยศิลาทราย หรือพระพุทธรูปหล่อสำริด ที่เรียกว่าพระแบบอู่ทอง พระอุโบสถ ขนาดใหญ่ มีช่องลมแทนหน้าต่าง เจดีย์แปดเหลี่ยม ก่ออิฐไม่สอปูน และเจดีย์บนฐานทักษิณสูง วัดที่สำคัญในสมัยนี้ ได้แก่ วัดอโยธยา วัดขุนเมืองใจ วัดธรรมิกราช วัดใหญ่ชัยมงคล วัดพนัญเชิง
สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นช่วงเวลานับตั้งแต่พระเจ้าอู่ทองทรงก่อตั้งพระนครศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ. 1893 จน กระทั่งถึงการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 สามารถแบ่งย่อยออกเป็น
โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยามีอยู่เป็นจำนวนมากถึง 211 แห่ง จึงคัดเลือกเฉพาะที่ สำคัญและน่าสนใจ แบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ได้ ดังนี้
· โบราณสถานในเกาะเมือง ได้แก่ วัดพระศรีสรรเพชญ์และพระราชวังหลวง วัดมงคลบพิตร วัดพระราม วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดธรรมิกราช วัดโลกยสุธาราม วัดวรเชษฐาราม วัดขุนแสน วัดขุนเมืองใจ วัดส้ม
· โบราณสถานนอกเกาะเมือง ได้แก่ วัดหน้าพระเมรุ วัดเชิงท่า วัดแม่นางปลื้ม วัดใหญ่ชัยมงคล วัดกุฎีดาว วัดมเหยงคณ์ วัดอโยธยา วัดไชยวัฒราราม วัดวรเชตุเทพบำรุง วัดกษัตราธิราช วัดภูเขาทอง
เรามาเริ่มกันที่อยุธยาเลยนะคะ ที่แรกที่ควรศึกษาคือ
1.ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ การเมือง
เศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นโดยเงินสนับสนุน
ของรัฐบาลญี่ปุ่น
ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ที่นี่สิ่งที่น่าชมที่สุดก็คือแบบจำลองต่างๆ
โดยเฉพาะแบบจำลองพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีสรรเพชญ์รวมทั้งหุ่นจำลอง แสดงทิวทัศน์แม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อมองออกจากป้อมเพชรนั้นจะช่วยให้เห็นภาพ ของกรุงศรีอยุธยายิ่งแจ่มชัดมากขึ้น
ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09:00 – 16:30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.(035) 245123-4 ค่าเข้าชม 100 บาท
2.วัดพระศรีสรรเพชญ์
หลังจากชมแบบจำลองมาจากศูนย์ประวัติศาสตร์ซึ่งอันนั้นจำลองมาจากข้อมูลจดหมายเหตุต่างๆแล้วมาดูของจริงกันบ้างของจริงโดยเฉพาะพระบรมมหาราชวังนั้นมีแต่ซากปรักหักพังเสียส่วนใหญ่ ซึ่งเดิมเป็นสถานที่ตั้งพระราชวังหลวงเดิมของพระเจ้าอู่ทองตั้งแต่ปี พ.ศ.1893
ต่อมาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงอุทิศที่วังให้เป็นเขตพุทธาวาสและสร้างวัดขึ้น ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนหุ้มทองคำนามว่าพระศรีสรรเพชญ์ดาญานเป็นวัดในเขตพระราชวัง ที่ไม่มีสงฆ์จำพรรษา ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ เสด็จออกประกอบพิธีกรรมสำคัญทางศาสนา
วัดพระศรีสรรเพชญ์เปิดให้เข้าชมเป็นประจำทุกวันตั้งแต่เวลา 08:00 – 18:00 น. ค่าเข้าชม 30 บาท
3.วัดมหาธาตุ
วัดมหาธาตุตั้งอยู่ตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวังฝั่งตะวันออกใกล้กับสะพานป่าตาล วัดแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ ๑ และเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08:00 – 18:00 น. ค่าเข้าชม 30 บาท
4.วิหารพระมงคลบพิตร
พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ แต่เดิมถูกประดิษฐานไว้
บริเวณด้านนอกของพระราชวังฝั่งตะวันออก ต่อมาพระเจ้าทรงธรรมได้มีรับสั่งให้ย้ายมาประดิษฐาน ณ ฝั่งตะวันตกอันเป็นที่ประดิษฐานในปัจจุบัน และรับสั่งให้สร้างมณฑปครอบองค์พระไว้
ในช่วงเสียกรุงครั้งที่สอง อาคารที่ประดิษฐานและพระพุทธรูปต่างก็ถูกเผาเสียหายเป็นอย่างมาก ที่เห็นในปัจจุบันนั้นเป็นการก่อสร้างขึ้นมาใหม่ บริเวณลานกลางแจ้งทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของวิหารเคยเป็นที่จัดพระราช พิธีศพของราชวงศ์ในอดีต (ปัจจุบันจัดขึ้นที่สนามหลวงหรือทุ่งพระเมรุ, กรุงเทพ)
ถึงกลิ่นอายของความรุ่งเรืองในวันเก่าของเมืองเก่าแห่งนี้ พระนครศรีอยุธยาเมืองมรดกโลก
อดีตผ่านมาเมืองกรุงศรีอยุธยา อดีตราชธานีไทยที่มีอายุยืนนานมาถึง 417 ปี
ในอดีตเป็นมหานครที่สุดแห่งหนึ่งที่งดงามรุ่งเรืองที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปเอเชีย
พรั่งพร้อมด้วยมหาปราสาทราชวัง วัดวาอาราม แหล่งชุมชน ตลาดบกตลาดน้ำ
ตลาดป่า พ่อค้าวานิชย์เรือกำปั่นจากต่างชาติ ทั้งจีน ฝรั่ง ญี่ปุ่น อินเดีย และอาหรับ
เดินทางไปมาค้าขายอยู่ไม่ขาด แม้ว่ามหานครแห่งนี้จะถูกทำลายลงแล้ว
ด้วยไฟสงครามแต่ร่องรอยหลักฐานที่ยังคงเหลืออยู่ ก็เป็นเสมือน
ขุมทรัพย์ทางปัญญาอันยิ่งใหญ่ที่เราลูกหลานไทยรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้
และรักที่จะได้สัมผัสวัฒนธรรมอันเก่าแก่ยิ่งนัก(ขอบคุณนิตยสารอ.ส.ท.ข้าพเจ้าจะใช้คู่มือของ อ.ส.ท.เป็นไกด์ไลน์ทุกครั้งที่ไปไหนๆ
กรุงศรีอยุธยา เป็นอดีตราชธานีของราชอาจักรไทย ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-23 เป็นระยะเวลาอันยาวนานถึง 417 ปี ช่วงเวลาอันยาวนานนี้ได้สร้างสรรค์ผลงานทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมและหล่อหลอมขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ความเป็นไทยตกทอดมาจวบจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นต้นแบบของกรุงเทพมหานครอีกด้วย องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จึงประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์พระ นครศรีอยุธยาเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ.2534
ศิลปโบราณวัตถุของอยุธยามีอยู่เป็นจำนวนมาก ด้วยความรุ่งเรืองอันยาวนานตั้งแต่ครั้งเป็นแคว้นอโยธยา แต่ส่วน ใหญ่ที่เหลืออยู่เป็นศาสนสถาน เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ และพระพุทธรูป สามารถแบ่งได้เป็นยุคสมัย ดังนี้
สมัยอโยธยา เป็นช่วงเวลาก่อนที่พระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยา ศิลปกรรมต่าง ๆ สืบทอดมาจากสมัย ทวารวดี นิยมสร้างพระพุทธรูปด้วยศิลาทราย หรือพระพุทธรูปหล่อสำริด ที่เรียกว่าพระแบบอู่ทอง พระอุโบสถ ขนาดใหญ่ มีช่องลมแทนหน้าต่าง เจดีย์แปดเหลี่ยม ก่ออิฐไม่สอปูน และเจดีย์บนฐานทักษิณสูง วัดที่สำคัญในสมัยนี้ ได้แก่ วัดอโยธยา วัดขุนเมืองใจ วัดธรรมิกราช วัดใหญ่ชัยมงคล วัดพนัญเชิง
สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นช่วงเวลานับตั้งแต่พระเจ้าอู่ทองทรงก่อตั้งพระนครศรีอยุธยาขึ้นในปี พ.ศ. 1893 จน กระทั่งถึงการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า ครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 สามารถแบ่งย่อยออกเป็น
- อยุธยาตอนต้น (พ.ศ. 1893-2112) เป็นระยะเวลาแห่งการสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับอาณาจักร ด้วยสายสัมพัน์ทางเครือญาติกับกษัตริย์เมืองละโว้และสุพรรณภูมิของพระเจ้าอู่ทองทำให้อยุธยาสามารถรวบรวมดินแดนเป็นปึกแผ่นขึ้นอย่างรวดเร็ว. ก่อนจะมาเสียกรุงให้แก่พม่าในปี พ.ศ.๒๑๑๒
- อยุธยาตอนกลาง (พ.ศ. 2112-2231)เป็ยยุคแห่งการกอบกู้เอกราชและฟื้นฟูบ้านเมืองให้กลับมั่นคงอีกครั้ง
- อยุธยาตอนปลาย (พ.ศ. 2231-2310) เป็นรุ่งเรืองครั้งสุดท้ายก่อนการเสียกรุงครั้งที่สอง
โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยามีอยู่เป็นจำนวนมากถึง 211 แห่ง จึงคัดเลือกเฉพาะที่ สำคัญและน่าสนใจ แบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ได้ ดังนี้
· โบราณสถานในเกาะเมือง ได้แก่ วัดพระศรีสรรเพชญ์และพระราชวังหลวง วัดมงคลบพิตร วัดพระราม วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดธรรมิกราช วัดโลกยสุธาราม วัดวรเชษฐาราม วัดขุนแสน วัดขุนเมืองใจ วัดส้ม
· โบราณสถานนอกเกาะเมือง ได้แก่ วัดหน้าพระเมรุ วัดเชิงท่า วัดแม่นางปลื้ม วัดใหญ่ชัยมงคล วัดกุฎีดาว วัดมเหยงคณ์ วัดอโยธยา วัดไชยวัฒราราม วัดวรเชตุเทพบำรุง วัดกษัตราธิราช วัดภูเขาทอง
เรามาเริ่มกันที่อยุธยาเลยนะคะ ที่แรกที่ควรศึกษาคือ
1.ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ การเมือง
เศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นโดยเงินสนับสนุน
ของรัฐบาลญี่ปุ่น
ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ที่นี่สิ่งที่น่าชมที่สุดก็คือแบบจำลองต่างๆ
โดยเฉพาะแบบจำลองพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีสรรเพชญ์รวมทั้งหุ่นจำลอง แสดงทิวทัศน์แม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อมองออกจากป้อมเพชรนั้นจะช่วยให้เห็นภาพ ของกรุงศรีอยุธยายิ่งแจ่มชัดมากขึ้น
ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09:00 – 16:30 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร.(035) 245123-4 ค่าเข้าชม 100 บาท
2.วัดพระศรีสรรเพชญ์
หลังจากชมแบบจำลองมาจากศูนย์ประวัติศาสตร์ซึ่งอันนั้นจำลองมาจากข้อมูลจดหมายเหตุต่างๆแล้วมาดูของจริงกันบ้างของจริงโดยเฉพาะพระบรมมหาราชวังนั้นมีแต่ซากปรักหักพังเสียส่วนใหญ่ ซึ่งเดิมเป็นสถานที่ตั้งพระราชวังหลวงเดิมของพระเจ้าอู่ทองตั้งแต่ปี พ.ศ.1893
ต่อมาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงอุทิศที่วังให้เป็นเขตพุทธาวาสและสร้างวัดขึ้น ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนหุ้มทองคำนามว่าพระศรีสรรเพชญ์ดาญานเป็นวัดในเขตพระราชวัง ที่ไม่มีสงฆ์จำพรรษา ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ เสด็จออกประกอบพิธีกรรมสำคัญทางศาสนา
วัดพระศรีสรรเพชญ์เปิดให้เข้าชมเป็นประจำทุกวันตั้งแต่เวลา 08:00 – 18:00 น. ค่าเข้าชม 30 บาท
3.วัดมหาธาตุ
วัดมหาธาตุตั้งอยู่ตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวังฝั่งตะวันออกใกล้กับสะพานป่าตาล วัดแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ ๑ และเป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08:00 – 18:00 น. ค่าเข้าชม 30 บาท
4.วิหารพระมงคลบพิตร
พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ แต่เดิมถูกประดิษฐานไว้
บริเวณด้านนอกของพระราชวังฝั่งตะวันออก ต่อมาพระเจ้าทรงธรรมได้มีรับสั่งให้ย้ายมาประดิษฐาน ณ ฝั่งตะวันตกอันเป็นที่ประดิษฐานในปัจจุบัน และรับสั่งให้สร้างมณฑปครอบองค์พระไว้
ในช่วงเสียกรุงครั้งที่สอง อาคารที่ประดิษฐานและพระพุทธรูปต่างก็ถูกเผาเสียหายเป็นอย่างมาก ที่เห็นในปัจจุบันนั้นเป็นการก่อสร้างขึ้นมาใหม่ บริเวณลานกลางแจ้งทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของวิหารเคยเป็นที่จัดพระราช พิธีศพของราชวงศ์ในอดีต (ปัจจุบันจัดขึ้นที่สนามหลวงหรือทุ่งพระเมรุ, กรุงเทพ)
No comments:
Post a Comment