ศาลาไทย




เกิดมาครั้ง หนึ่งในชีวิต รู้จักความเป็นตัวตนที่อยู่ในโลกนี้ สำคัญจริงจริง การที่เราเกิดมาในประเทศไทย ควรจะนึกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติของตัวเอง มีหลายสิ่งหลายอย่างที่รวมกันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่เห็นทุกครั้ง ทำให้มองเห็นได้ชัดเจนว่านี่เป็นไทยจริงจริง คือ ศาลาไทย


  • ศาลาไทย
หมายถึง สิ่งที่ปลูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่พักของคนไทย ไม่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยถาวร เป็นรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทย มีหลายลักษณะและมีเอกลักษณ์เฉพาะ ขึ้นอยู่กับท้องถิ่น ที่ตั้ง และสภาพแวดล้อม เช่น ศาลาไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศาลาไทยภาคใต้ โดยทั่วไปมีลักษณะเปิดโล่ง ไม่มีฝาหรือมีอยู่บ้างเป็นส่วนน้อย ประกอบด้วย พื้นฐาน เสา และหลังคาเพื่อใช้เป็นที่บังแดด ฝน


ศาลาไทย เป็นสถาปัตยกรรมที่บ่งบอกไปให้ชาวโลกรู้สำหรับเอกลักษณ์ของไทย ปัจจุบันนี้ประเทศไทยได้เผยแพร่และปลูกสร้างศาลาไทยไว้ที่ต่างประเทศมากมายมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หรือแต่พ.ศ.2452

ศาลาไทยใหม่ Bad Homburg


ความสัมพันธ์ทางการทูตของไทยและเยอรมนีได้ หยั่งรากลึกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ ได้เยือนเยอรมนีเมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง คือในปี พ.ศ. 2440 และปี พ.ศ. 2450 การประพาสยุโรปในปี พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จเยือนอย่างไม่เป็นทางการ ทรงเสด็จพระราชดำเนินโดยเรือเยอรมัน จักรพรรดิวิลเลี่ยมที่ 2 ได้ถวายการต้อนรับ ทรงสนพระทัยด้านการแพทย์และเทคโนโลยี สื่อต่างประเทศ ได้บันทึกถึงพระปรีชาญาณในการปกครอง และการดำเนินนโยบายการเมือง ทรงเป็นที่ ชื่นชอบของชาวเยอรมัน ได้เสด็จประพาสกรุงเบอร์ลิน เมืองบาเด็น บาเด็น ไฮเดล เบิร์ก บราวน์ชไวน์ อีกทั้งตามคำแนะนำของนาย แพทย์เบอห์เม่อร์ ทรงเข้ารับการพักรักษาตัวที่เมืองบาด ฮอมบวร์ก เป็นเวลา 1 เดือน และได้มีการจัดงานเฉลิมพระชนมพรรษาที่เมืองบาด ฮอมบวร์กแห่งนี้ ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2450 ซึ่งจัดให้ประชาชนเข้าร่วมเฉลิมฉลองด้วย

ศาลาไทยในเวสพาร์ค สร้างโดยนักธุรกิจชาวเยอรมันที่อยู่ในประเทศไทย


รวม ทั้งในขณะนั้นทางเมืองบาด ฮอมบวร์กได้ค้นพบ บ่อน้ำพุแห่งใหม่ที่เป็นสายน้ำแร่ ใต้ดิน จึงได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ ทรงเปิดน้ำพุ ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระนาม คิงจุฬาลงกรณ์ “King Chulalongkorn” เป็นชื่อบ่อน้ำพุ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2450 อีกด้วย ภายหลังเสด็จนิวัตประเทศไทย ได้ทรงมีพระราช กระแสรับสั่งให้สร้างศาลาไทย เพื่อพระราชทานให้เมืองบาด ฮอมบวร์ก เพื่อครอบน้ำพุที่ค้นพบใหม่ คิงจุฬาลงกรณ์ โดยทางเมืองบาด ฮอมบวร์ก เห็นว่าศาลาไทยมีความงดงาม จึงได้นำไป ตั้งไว้ที่สวนสาธารณะประจำเมืองแทน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีของทั้ง คนไทยและชาวเยอรมัน ศาลาไทย ณ เมือง บัดฮัมบวร์ก ประเทศสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือน ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2525 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมนี ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรศาลาไทย ทรงพบความชำรุดทรุดโทรม จึงโปรดเกล้าฯให้มีการบูรณะซ่อมแซม กองจดหมายเหตุแห่งชาติจึงได้รวบรวม เอกสารจดหมายเหตุว่าด้วย การก่อสร้างและการบูรณะศาลาไทย ณ เมือง บัดฮัมบวร์ก สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนีตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ในโอกาสครบรอบ 100 ปี การเสด็จประพาสเยอรมนี ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี 2550 นี้ เพื่อเป็นการสานความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเยอรมนีให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ทางการเมืองบาด ฮอมบวร์ก ได้จัดโครงการบูรณะและเสนอให้ฝ่ายไทยสร้างถาวร วัตถุ คือ ศาลาไทย (แห่งที่ 2) ขึ้นที่บ่อน้ำพุ ตามพระราชประสงค์เดิม เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการเสด็จฯ เยือนเยอรมนีในครั้งนั้น ซึ่งการก่อสร้างได้ดำเนินไปด้วยดี โดยความร่วมมือระหว่างฝ่ายไทยและเยอรมนี



โดย สถานเอกอัครราช ทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ได้จัด พิธีมอบศาลาไทย ณ บ่อน้ำพุ “King Chulalongkorn” ให้แก่เทศบาลเมืองบาด ฮอมบวร์ก ซึ่งตั้งอยู่บริเวณบ่อน้ำพุคิง จุฬาลงกรณ์ ในสวนสาธารณะ Kurpark ในวันที่ 20 กันยายน 2550 ที่ผ่านมา โดยมี ฯพณฯ นายสวนิต คงสิริ รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานในพิธีของฝ่ายไทยและ Dr.Ursula Jungherr นายกเทศมนตรีเมืองบาด ฮอมบวร์ก เป็นประธาน

บาด ฮอมบวร์ก

ในพิธีทางฝ่ายเยอรมนี ศาลาไทยหลังนี้ จัดสร้างโดยงบประมาณของ กระทรวงการต่างประเทศ ออกแบบโดยกรมศิลปากร ซึ่งมีลักษณะเป็นตรีมุข 2 ชั้นลด จั่วหลังคาประดับรวยระกาและเหราจำหลักลวดลายปิดทองประดับกระจก หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสีฟ้ารองรับเครื่องบนด้วยเสาแปดเหลี่ยม ตัวเสาเขียนลายรดน้ำประดับบัวปลายเสา คันทวย และซุ้มคูหา จำหลักลวดลาย ปิดทองประดับกระจก ทั้งนี้ ได้รับพระราชทานพระบรม ราชานุญาตให้ดำเนินการจัดสร้าง โดยเชิญอักษรพระปรมาภิไธย จ.ป.ร. ประดิษฐานที่หน้าบัน ทั้ง 3 ด้านของศาลาไทย การจัดสร้างศาลา ไทย หลังนี้ นอกจากจะเป็นการเทิด พระเกียรติฯแล้ว ยังเป็นอนุสรณ์สถานในโอกาสครบรอบ 100 ปี การเสด็จประพาสเมืองแห่งนี้ และแสดงถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับเยอรมนีที่มี มาช้านาน ทั้งยังเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่จะคงอยู่ถึงอนุชนรุ่นหลังให้ได้ศึกษากันสืบ ต่อไป

ศาลาไทย ที่ สวีเดน

ศาลาไทยในเมดิสันเคาน์ตี้ วิสคอนซิน




ศาลาไทยในฮาวาย

ในปี 1967 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้เสด็จ พระราชดำเนินมายัง อีสเวสต์เซนเตอร์ ซึ่งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยฮาวาย เพื่อทรงพระราชทานศาลาไทยเป็นของขวัญส่วนพระองค์ โดยส่งมาทางเรือ ซึ่งศาลาไทยนี้มีชื่อว่า พระที่นั่งปาฏิหารย์ทัศนัย โดยชื่อภาษาอังกฤษว่า " Throne of the Miracle Vision" ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ศาลาที่อยู่นอกประเทศไทยและมีตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ด้วย
ศาลาหลังใหม่ในฮาวาย

ตัวศาลาไทยตั้งอยู่ ณ บริเวณด้านข้างของเจฟเฟอร์สัน ฮอลล์ อันเป็นอาคารสวยงามและมีชื่อเสียงมากของ EWC ที่ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อก้อง I.M.Pei…ภายใต้ต้นมะเดื่ออันร่มรื่น กล่าวกันว่า ศาลาไทยได้กลายเป็นจุดเด่นและเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของอีสเวสเซ็นเตอร์ เพราะสามารถมองเห็นได้ง่าย อีกทั้งยังเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจที่นักศึกษาและนักวิจัยของศูนย์ ให้ความนิยม เป็นที่โจษขานกันว่า “ศาลาไทย” เป็นสถานที่ ที่นักศึกษานานาชาติมานัดพบกัน เพื่อสารภาพรักกัน หรือขอแต่งงานกันมากที่สุดในมหาวิทยาลัยฮาวาย เพราะความสง่างามและความโรแมนติกที่เหนือกว่าจุดอื่นๆ แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปยาวนานถึง 40 กว่าปีเช่นนี้ ศาลาไทยหลังเก่าซึ่งสร้างด้วยไม้แท้ๆ ก็ย่อมจะผุพังลงไป จึงมีความดำริจากสถาบันที่จะก่อสร้างขึ้นใหม่เพื่อทดแทน ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว และด้วยการสนับสนุนของสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน รวมตลอดทั้ง EWC ในที่สุดการก่อสร้างปรับปรุงก็เริ่มขึ้นเมื่อปี ค.ศ.2006 และแล้วเสร็จเป็นศาลาไทยสีทองเหลืองอร่ามหลังใหม่ที่งดงามอลังการยิ่งกว่า เดิม ศาลาไทยหลังเดิมนั้นเป็นไม้ เนื้ออ่อน เมื่อเวลาผ่านไปนาน ทำให้เกิดชำรุดเสียหาย ซึ่งทางรัฐบาลไทยและอีสเวสต์เซนเตอร์ได้ร่วมกันขอพระบรมราชานุญาติปลูกสร้าง ใหม่ในปี 2006 โดยศาลาไทยหลังใหม่นี้ เป็นไม้สักทั้งหลัง ทาด้วยทองโดยมีสถาปนิกผู้ควบคุมดูแลในการก่อสร้างคือ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี โดยใช้ไม้สัก และไม้หอมของไทยในการก่อสร้าง มีการแกะสลักอย่างวิจิตรตระการตา ศาลาทั้งหลังก่อสร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวัง จนเสร็จเรียบร้อยจึงถอดออกเป็นชิ้นส่วนส่งไปฮาวายทางเรือ พร้อมทั้งส่งช่างไทย 6 คน และวิศวกรไทยอีก 1 คน ไปร่วมกันประกอบ ชื่ออย่างเป็นทางการของศาลาไทยก็คือThe Royal Sala Thai” ในวันเสาร์ที่ 1 มีนาคม 2008 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดศาลา

ศาลาไทยในสวีเดนซึ่งปกคลุมด้วยหิมะ

ภาพนี้นี้ขอบคุณจาก Siam wood carving


No comments:

Post a Comment