ช้างไทย

ช้างไทย Chang Thai (Elephant หรือ Elephas Maximas) เป็นสัตว์ประจำชาติไทย


ช้างไทย



ช้างๆ น้องเคยเห็นช้างหรือเปล่า ใครๆก็รู้จักแม้กระทั่งลูกเด็กเล็กแดง มีอิทธิพลในใจของคนไทยมาช้านานตั้งแต่ เริ่มเกิดเป็นชาติไทยด้วยซ้ำ ช้างเป็นสัญลักษณ์ ในความเป็นไทยอีกอย่างหนึ่งก็ คือ

ช้าง

  • ช้าง
มาเริ่มกันเรื่องเอกลักษณ์ของเมืองไทยอีกสัก เรื่องหนึ่งก่อนที่จะเข้า ทริปท่องเที่ยว หลังจากที่มารู้จักเอกลักษณ์ไทยจากเรือนไทย มาแล้ว ช้างนับว่าเป็นสัตว์ที่เป็นคู่บ้านคู่เมืองไทยมายาวนาน ตอนเด็กๆเราร้องเพลงช้างได้ก่อนเพลงอื่นๆด้วยซ้ำไป และรู้สึกถึงความรักความเอ็นดูเมื่อใครเรียกไปดูช้าง ทั้งๆที่มันตัวใหญ่ แม้กระทั่งเด็กเล็กแดงจะตื่นเต้นดีใจอยากจับต้องตัวมัน หรือบางคนที่ยอมลอดท้องแก้เคล็ดบางอย่างสิ่งเหล่านี้ เป็นเหมือนเอกลักษณ์ที่ได้เห็นกันอยู่เสมอๆแบบชาวบ้าน ทั่วๆไป ถ้าเอาแบบชาวบ้านจริงๆ คนชื่อช้างมีมากมาย นักกอล์ฟชาวไทยก็คนหนึ่งล่ะ ดอกกล้วยไม้ยังเอาชื่อช้างมาใช้ เช่น ช้างกระ,ช้างดำ,ช้างเผือก,ช้างแดง และมีเครื่องดื่มยี่ห้อหนึ่งใช้ชื่อช้าง ทำให้ดังระเบิด ด้วย (อาจจะเพราะของแถมก็ได้ จนเจ้าของรวยอันดับต้นๆของเมืองไทยซะอีก ฮิฮิ) แต่ที่พูดถึงคือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดใหญ่ ลำตัวสีเทา จมูกยื่นเรียกว่างวงตัวผู้มีงาเรียกช้างพลายถ้าไม่มีงาเรียกว่าช้างสีดอหรือ ถ้าตัวเมียเรียกว่าช้างพังเป็นที่เข้าใจกันนะคะ
- แต่ในอดีตช้างมีความสำคัญมาก เคยได้รับเกียรติสูงให้เป็นพาหนะยามออกศึกของพระมหากษัตริย์ไทย และเป็นสัตว์คู่บุญบารมีอีกด้วย ในอดีตช้างยังอยู่ในธงชาติไทยอีกด้วย

ช้าง

  • ช้างเผือก
ช้างเผือกได้มีราชประเพณีนิยมนับถือ มีความสำคัญแก่บ้านเมืองมาแต่โบราณ เมื่อช้างเผือกเกิดขึ้นในแผ่นดิน ตามตำราคชศาสตร์และตามพระราชบัญญัติกฎหมายดังกล่าวแล้ว ทางราชการย่อมประกอบพระราชพิธีรับขึ้นระวางสมโภชเป็นพระยาช้างต้น หรือช้างเผือกตามคตินิยมอันเป็นพระราชประเพณีที่มีมาแต่โบราณ
  • ลักษณะช้างที่เป็นมงคล ค้องครบด้วยองค์ 7 ประการ ดังนี้

1. ตาขาว คือมีดวงตาขาวเรื่อๆ โดยทั่วไป เสมือนตาน้ำข้าวเฉพาะแก้วตา หรือที่เรียกว่าตาดำนั้น ใสเรืองรองเป็นประกายแก้วผลึก
2. เพดานขาว
คือ มีเพดานปากขาวดุจเนื้อในของเผือกมัน หากจะดำหรือแดงก็ค่อนข้างขาวเสมอกัน
3. เล็บขาว
คือ มักมีเล็บขาวเหมือนงาของมันเองทั้งหมด ขอบหนังหุ้มเล็บสม่ำเสมอกัน
4. พื้นหลังขาว หรือคล้ายหม้อดินใหม่
คือ พื้นหนังทั่งร่างกาย แม้จะแลไม่เห็นเป็นสีเผือกเหมือนความยเผือกก็ตาม แต่จะต้องสีคล้ายสีหม้อดินใหม่ๆ ยังไม่ได้ใช้
5. ขนหางยาว
คือ ขนที่หางเป็นพวงพุ่มลดหลั่นกันเกือบถึงน่องตอนล่าง ระหว่างส้นเท้าหลัง
6. ขนขาว
คือ ขนทั่งร่างกายขาว หรือนวล แต่ละขุมขนมีเส้นออกมาสม่ำเสมอกัน ขุมละเส้น และยาวสม่ำเสมอกัน
7. อัณฑโคตร์ขาว หรือคล้ายหม้อดินใหม่
คือ มีของลับเมื่อแข็งตัวโผล่ออกมาจากเบ้าจะขาว หรือสีดุจเผือกมัน หรือดุจสีหม้อดินใหม่ ซึ่งค่อนข้างแดงอ่อน ลักษณะช้างมงคลทั้ง 7 นี้ ใช้ได้สำหรับช้างทั้ง 2 เพศ โดยช้างตัวผู้จะเรียกว่า "ช้างพลาย" และ ช้างตัวเมียเรียกว่า "ช้างพัง" งาของช้างตัวเมียไม่นิยมเรียกว่างา แต่จะเรียกว่า "ขนาย" เพราะว่าสั้นเพียงริมปากช้างปิดเท่านั้น ยาวไม่เกินคืบ
  • ลักษณะช้างเผือกงาเนียน
ช้างเผือกงาเนียน เป็นช้างที่นับว่าเป็นมงคลชนิดหนึ่ง และเป็นช้างที่หายาก ไม่พบในประเทศไทย ช้างชนิดนี้มีลักษณะ 3 ประการ คือ 1. พื้นหนังตามสรรพางค์กายดำ คือ หนังไม่ถึงกับดำสนิทนัก ค่อนข้างออกเป็นสีแดง
2. งามีลักษณะเป็นรูปปลีกล้วย
คือ เป็นงาท่อนใหญ่ไม่ยาวนัก แต่ค่อนข้างใหญ่กว่าช้างพลายธรรมดาทั่วไป
3. เล็บดำ
คือ มีเล็บออกเป็นสีดำสนิททั่วไป ต่างกับช้างธรรมดาทั่วไปตรงที่ ช้างธรรมดามีเล็บดำๆด่างๆ สีไม่เสมอกัน แต่ช้างชนิดดังกล่าวจะออกเป็นสีดำสนิทตลอดทั้ง 4 เท้า ตำนานเกี่ยวกับช้างเผือกมีอยู่คู่คนไทยมาช้านาน ในตำนานพุทธประวัติ กล่าวว่าช้างเผือกนั้นคือสัญลักษณ์แห่งความรู้ และ การเกิด คืนก่อนวันประสูติของพระพุทธเจ้า พระมารดาของพระองค์ทรงสุบิณท์ ถึงช้างเผือก มอบดอกบัวให้พระนาง ดอกบัวอันหมายถึงความบริสุทธิ์และความรู้ เชื่อกันว่าช้างเผือกมีอิทธฤทธิ์เหนือช้างสามัญ ว่ากันว่ามีพลังดุจเทพแห่งสงคราม สำหรับกษัตริย์ของ ประเทศไทยและพม่าแล้ว การได้ครอบครองช้างเผือก เป็นอะไรที่สำคัญยิ่ง องค์ใดที่มีช้างเผือกหลายตัว จะเป็นกษัตริย์ ที่เกรียงไกร และจะนำพาบ้านเมืองสู่ความรุ่งโรจน์ หากช้างเผือกสิ้น ก็เป็นลางบแกเหตุเภทถัยแก่ ตัวกษัตริย์และแผ่นดินที่ปกครอง ราชันย์ในยุคก่อนจึงมุ่งมั่นที่จะได้ช้างเผือกมาอยู่ในความครอบครอง องค์ใดมีมากตัวก็สามารถให้ราชาเมืองอื่นเป็นของขวัญ เพื่อความเป็นมิตร ในบางคราก็มีการก่อสงครามแย่งชิงช้างเผือกก็มี

  • ช้างกับกษัตริย์ไทย

กรุงสุโขทัย

-ใน ศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวว่าพระเจ้ารามคำแหงมหาราชได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด และยังมีอีกตอนที่กล่าวถึงช้างเผือกตัวโปรดของพระเจ้ารามคำแหงมหาราชที่ชื่อ รุจาครี ซึ่งช้างเผือกตัวนี้ทรงให้แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์ แล้วทรงนำราษฎรออกบำเพ็ญกุศลตามพระอารามในอรัญญิกเมื่อครั้งที่ทรงครองกรุง สุโขทัย

กรุงศรีอยุธยา

-ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีช้างเผือกที่มีลักษณะพิเศษที่นำมาเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล
-ในสมัย สมเด็จพระอินทราชาที่ 2 ได้ช้างเผือกมา 1 เชือก
-ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้ปรากฏช้างเผือกที่ชื่อพระฉัททันต์ขึ้น
-ใน สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งถือได้ว่าเป็นรัชสมัยเริ่มต้นที่ให้ความสำคัญกับช้างเผือกมากที่สุด พร้อมทั้งยังมีช้างเผือกประจำรัชกาลนี้ถึง 7 เชือก คือ พระคเชนทโรดม พระรัตนากาศ พระแก้วทรงบาศ ช้างเผือกพังแม่และพังลูก พระบรมไกรสร พระสุริยกุญชร
-ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทร์ไอยราวรรณ และ เจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์
-ในสมัยสมเด็จพระมหาบุรุษ( พระเพทราชา) ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทรไอราพต และ พระบรมรัตนากาศ
-ในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 ( พระเจ้าเสือ ) ได้ช้างเผือกชื่อ พระบรมไตรจักร
-ใน สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ( พระบรมโกศ )ได้ช้างเผือกมา 6 เชือก คือ พระวิเชียรหัสดิน พระบรมราชนาเคนทร พระบรมวิไชยคเชนทร พระบรมกุญชร พระบรมจักรพาลหัตถี พระบรมคชลักษณ์

กรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ช้างพังเผือก ได้เมื่อครั้งนำกองทัพกรุงไปล้อมเมืองฝาง เจ้าฝางหนีพาช้างไปด้วย กองทัพติดตามได้ลูกช้างนำมาถวาย

กรุงรัตนโกสินทร์
-
รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ช้าง 10 เชือก คือ พระบรมไกรสร ( บวรสุประดิษฐ) พระบรมไกรสร ( บวรบุษปทันต์ ) พระอินทรไอยรา พระเทพกุญชร พระบรมฉัททันต์ พระบรมนัขมณี พระบรมคชลักษณ์ ( อรรคคเชนทร์ ) พระบรมนาเคนทร์ พระบรมคชลักษณ์ ( อรรคชาติดามพหัตถี ) พระบรมเมฆเอกทนต์
-รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีช้าง 6 เชือก คือ พระยาเศวตกุญชร พระบรมนาเคนทร์ พระบรมหัศดิน พระบรมนาเคนทร์ ( คเชนทรธราธาร ) พระยาเศวตไอยรา พระยาเศวตคชลักษณ์
-รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้างเผือกอยู่ 20 เชือก คือ พระบรมคชลักษณ์ พระบรมไอยรา พระบรมนาเคนทร์ พระบรมเอกทันต์ พระยามงคลหัสดิน พระยามงคลนาคินทร์ พระบรมไกรสร พระบรมกุญชร พังหงษาสวรรค์ พระนัขนาเคนทร์ พระบรมไอยเรศ พระบรมสังขทันต์ พระบรมคชลักษณ์ ( ศักดิสารจุมประสาท ) พระบรมนขาคเชนทร์ พระนาเคนทรนขา พระบรมทัศนขา ช้างพลายสีประหลาด พระบรมศุภราช พระยามงคลคชพงศ์ ช้างพลายกระจุดดำ
-รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้าง 15 เชือก คือ พระบรมนัขสมบัติ พระวิมลรัตนกิริณี พระบรมคชรัตน พระวิสูตรรัตนกิริณี พระพิไชยนิลนัข พระพิไชยกฤษณาวรรณ พระศรีสกลกฤษณ์ พระมหาศรีเศวตวิมลวรรณ ช้างพังเผือกเอก พระเศวตสุวรรณาภาพรรณ ช้างพัง เผือกเอก พระเทวสยามมหาพิฆเนศวร ช้างสีประหลาด เจ้าพระยาปราบไตรจักร พระยาไชยานุภาพ
-รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้าง 19 เชือก คือ พระเศวตวรวรรณ พระมหารพีพรรณคชพงษ์ พระเศวตสุวภาพรรณ พระเทพคชรัตนกิริณี พระศรีสวัสดิเศวตวรรณ พระบรมทันตวรลักษณ์ พระเศวตวรลักษณ์ พระเศวตวรสรรพางค์ พระเศวตวิสุทธิเทพา พระเศวตสุนทรสวัสดิ์ พระเศวตสกลวโรภาศ พระเศวตรุจิราภาพรรณ พระเศวตวรนาเคนทร์ ช้างพลายเผือกเอก พระศรีเศวตวรรณิภา พระเศวตอุดมวารณ์ ช้างพลายสีประหลาด 2 เชือก เจ้าพระยาไชยานุภาพ
-รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ช้าง พระเศวตวชิรพาหะ
-รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ช้าง พระเศวตคชเดชน์ดิลก
-รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีช้างเผือก 10 เชือก คือ พระเศวตอดุลยเดชพาหน พระเศวตวรรัตนกรี พระเศวตสุรคชาธาร พระศรีเศวตศุภลักษณ์ พระเศวตศุทธวิลาศ พระวิมลรัตนกิริณี พระศรีนรารัฐราชกิริณี พระเศวตภาสุรคเชนทร์ พระเทพรัตนกิริณี พระบรมนขทัศ

เรื่อง สำคัญหลักๆ มีอีกอย่างก็คือช้างกับการท่องเที่ยวไทยคู่กันมายาวนานและมีแทบทุกภาคของ ประเทศไทย ใหญ่ก็ทางภาคเหนือ เพราะมีปางช้างหลายแห่ง

ข้อมูลจาก http://www.thaigoodview.com/node/14943?page=0%2C8



มาดูวิสัยทัศน์ของมูลนิธิช้างอย่างน่าเป็นแบบอย่างที่ดี

"คนคู่ช้าง ช้างคู่ไทยช้างยิ่งใหญ่ ไทยยั่งยืน"

นอกจากนี้ยังมี
แผนแม่บทการอนุรักษ์ช้างแห่งชาติ

(National Master Plan for the Conservation of Elephant)(พ.ศ. 2546-2555)

พันธกิจช้างบ้าน

1. ช้างมีสวัสดิภาพ สมศักดิ์ศรีสัตว์สัญลักษณ์ประจำชาติ

2. มีระบบการจดทะเบียนช้างและช้างขึ้นทะเบียนสมบูรณ์แบบ 100 %

3. ฟื้นฟูและพัฒนาวิชาคชศาสตร์ให้เป็นสากล เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ

4. ฟื้นฟูและคงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ประเพณีระหว่างคนกับช้าง

5. ส่งเสริมกิจกรรมการใช้ช้างเพื่อสร้างรายได้ให้ชาวช้าง

ช้างป่า

1. ช้างได้รับความคุ้มครองอย่างจริงจังจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

2. คุ้มครองพื้นที่ป่าสมบูรณ์และปลอดภัยเพื่อเป็นที่อยู่ของช้าง

3. คนกับช้างอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

ยุทธศาสตร์รวม

1. จัดตั้งคณะกรรมการกำกับนโยบายช้างแห่งชาติ

2. สร้างมาตรฐานธุรกิจเกี่ยวกับช้าง

3. ป่าสมบูรณ์เพื่อช้าง

4. ชุมชนคนอยู่ร่วมช้าง

5. ส่งเสริมอาชีพชาวช้าง

6. จัดตั้งกองทุนช่วยช้าง

7. ฟื้นฟูและเสริมสร้างวัฒนธรรมช้างไทย

8. ส่งเสริมและเผยแพร่คชศาสตร์ศึกษา

http://www.asian-elephant.org/knowledge3.shtml

  • ช้างในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย
• ช้างเอราวัณ เป็นช้างที่มีชื่ออยู่ในวรรณคดีบาลีกล่าวกันว่าเป็นช้างพาหนะของพระอินทร์ เรื่องราวของช้างเอราวัณที่ได้ พูดถึงกันนั้นจะเกี่ยวข้องกับประวัติของท้าวสักกะหรือพระอินทร์ผู้เป็นราชาแห่งเทพชั้นดาวดึงส์
• ช้างไอราวัณ
เป็นช้างที่มีรูปร่างสูงใหญ่เหมือนภูเขา ผิวกายผ่องดูสดใส เป็นช้างที่มีพลังอำนาจมาก ช้างไอราวัณมีหน้าที่ เป็นช้างพาหนะของพระอินทร์ โดยมีหน้าที่หลายอย่างอาทิเช่น การนำพระอินทร์ออกรบ การทำฝน ช้างเอราวัณหรือไอราวัณนี้ปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง
• ช้างพลายมงคล เป็นช้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นช้างที่พระเจ้า เชียงใหม่ถวายเป็นบรรณาการแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีโสกันต์ แต่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชในเวลานั้นยังทรงพระเยาว์ พร้อมกับประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวังซึ่งจะทรงเลี้ยงช้างก็ไม่สะดวกนัก จึงประทานให้เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ซึ่งเป็นพระอภิบาลเลี้ยงช้างและ คอยกราบทูลถวายรายงานที่เกี่ยวกับพลาย มงคล ช้างพลายมงคลมาอยู่ที่บ้านเจ้าพระยาเทเวศรฯ หรือที่เรียกกันว่าวังบ้านหม้อซึ่งมีบริเวณกว้างขวางมีทางเดินขนาดใหญ่ พร้อมกันนี้ก็เป็นบ้านที่มีคนอยู่มากมาย พลายมงคลเมื่อมาอยู่บ้านนี้ก็รู้สึกครึกครื้นเป็นช้างชอบเล่นและเป็นที่ชื่น ชอบแก่เด็กๆ รวมทั้งลูกๆ หลานๆ ของเจ้าพระยาเทเวศรฯ ด้วย พลายมงคลเป็นช้างที่ฉลาดจึงทำให้เจ้าพระยาเทเวศรฯ รักประดุจลูกพลายมงคลมีคนดูแลชื่อว่า ตาภู่ ซึ่งบุคคลทั้งสองนี้จึงเปรียบเหมือนเป็นพ่อของพลายมงคลเลยก็ว่าได้

http://www.lib.ru.ac.th/journal/elephant-thaihistory.html

No comments:

Post a Comment