พระราชวังบางปะอิน

  • พระราชวังบางปะอิน
เป็นพระราชวังขนาดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นในพระเจ้าปราสาททอง สมัยกรุงศรอยุธยาตอนต้น และเคยเป็นสถานที่เสด็จ ประพาสในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 จนได้รับการโปรดเกล้าฯให้ฟื้นฟูบูรณะจนสมบูรณ์เช่นทุกวันนี้และเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมเป็นอย่างยิ่งเพราะพระราชวังบางปะอิน อยู่ที่อาณาบริเวณที่มีมากกว้างขวาง และร่มรื่นด้วยร่มไม้นานาพันธุ์ มีสวนหย่อมและสระน้ำขนาดใหญ่อยู่ทั่วไป ภายในมีสถานที่อดีตที่ประทับของกษัตริย์เปิดให้เข้าเยี่ยมชม โดยไฮไลท์อยู่ที่ "พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์" พระตำหนักกลางสระน้ำที่วิจิตรงดงามยิ่ง
นอกจากนี้แล้วยังมีที่สำคัญ ๆ ภายในพระราชวังบางปะอิน ควรค่าแก่การเข้าไปศึกษาและเยี่ยมชม เช่น "พระที่นั่งเวหาจำรูญ" หรือในภาษาจีนเรียกว่า เทียนเหมงเต้ย ที่วิจิตรด้วยศิลปะการสร้างแบบจีน, "หอวิฑูรย์ทัศนา" หอสูงตังอยู่กลางเกาะในพระราชอุทยาน, "พระที่นั่งวโรภาษพิมาน" ที่ ร.5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใช้เป็นที่ประทับและเสด็จออกว่าราชการ เป็นต้น
พระราชวังบางปะอิน ตั้งอยู่ในตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ห่างจากเกาะเมืองลงมาทางทิศใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร เป็นพระราชวังโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจากเป็นที่ประสูติของพระองค์ ใช้เป็นสถานที่ที่ทรงใช้ประทับแรม ของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ด้วยเป็นพระราชวังใกล้พระนครนั่นเอง
เมื่อครั้งเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่สอง พระราชวังบางปะอินถูกปล่อยให้รกร้างมาระยะหนึ่ง พระราชวังบางปะอินกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้งเมื่อสุนทรภู่ ซึ่งได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไปนมัสการ พระพุทธบาทสระบุรี ได้ประพันธ์ถึงพระราชวังบางปะอินไว้ในนิราศพระบาท จนกระทั่ง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เริ่มการบูรณะพระราชวังขึ้น และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้บูรณะครั้งใหญ่ โดยสร้างพระที่นั่ง พระตำหนัก และตำหนักต่าง ๆ ขึ้นมากมายเพื่อใช้เป็นที่ประทับ รับรองพระราชอาคันตุกะ และพระราชทานเลี้ยงในโอกาสต่าง ๆในปัจจุบัน พระราชวังบางปะอินอยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง และยังใช้เป็นสถานที่แปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้าย แต่ได้เปิดให้ประชาชน และนักท่องเที่ยวเข้าชมได้ โดยต้องแต่งกายให้สุภาพมีเรื่องเล่าว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเอกาทศรถ ยังทรงดำรงพระยศพระมหาอุปราชวันหนึ่งพระองค์ได้เสด็จประพาสทางชลมารค เมื่อถึงบริเวณเกาะบางปะอิน เรือพระที่นั่งถูกพายุใหญ่พัด ทำให้เรือพระที่นั่งล่มลง สมเด็จพระเอกาทศรถทรงว่ายน้ำขึ้นไปบนเกาะนี้ ซึ่งเดิมชื่อ "เกาะบ้านเลน" และประทับอยู่กับชาวบ้าน
ในระหว่างประทับอยู่ ณ ที่นี้ สมเด็จพระเอกาทศรถได้หญิงชาวเกาะเป็นบาทบริจาริกา มีนามว่า "อิน" จึงเป็นเหตุให้คนทั่วไปเรียกเกาะนี้ต่อมาว่า "เกาะบางปะอิน" ต่อมาเมื่อพระองค์จะเสด็จกลับ พระองค์ก็ทรงพานางอินนี้กลับไปกรุงศรีอยุธยาด้วย นางอินผู้นี้จึงเป็นพระสนมในเวลาต่อมา และมีพระราชโอรสด้วยกัน เล่ากันว่าพระราชโอรสพระองค์นั้น คือ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
เมื่อปี พ.ศ. 2175 หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นตรงบริเวณนิวาสสถานเดิมของพระมารดา และได้พระราชทานนามว่า "วัดชุมพลนิกายาราม" และได้สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งเพื่อฉลองการที่พระราชเทวีประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระนารายณ์ราชกุมาร พระราชทานนามว่า "พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์" [พระราชวังบางปะอินจึงเป็นสถานที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในฤดูร้อนสืบเนื่องกันมา จนกระทั่ง กรุงศรีอยุธยาได้เสียแก่พม่าเมื่อปี พ.ศ. 2310 ซึ่งทำให้พระราชวังแห่งนี้ถูกปล่อยให้รกร้างไป
  • บริเวณโดยรอบของพระราชวังบางปะอิน
พระราชวังบางปะอินกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง เมื่อสุนทรภู่ได้ตามเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ซึ่งได้เดินทางผ่านพระราชวังบางปะอิน และได้ประพันธ์ถึงพระราชวังแห่งนี้ในนิราศพระบาท ว่า
รำพึงพายตามสายกระแสเชี่ยว ยิ่งแสนเปลี่ยวเปล่าในฤทัยถวิล
สักครู่หนึ่งก็มาถึงบางเกาะอิน กระแสสินธุ์สายชลเป็นวนวัง
อันเท็จจริงสิ่งนี้ไม่รู้แน่ ได้ยินแต่ยุบลในหนหลัง
ว่าที่เกาะบางอออินเป็นถิ่นวัง กษัตริย์ครั้งครองกรุงศรีอยุธยา

ครั้นมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังกรุงศรีอยุธยา ประพาสผ่านพระราชวังบางปะอิน ทอดพระเนตรเห็นความร่มรื่นโดยรอบเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย อีกทั้งยังเป็นเขตพระราชวังเก่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะพระราชวังบางปะอิน โดยสร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งเป็นที่ประทับ เรือนแถวสำหรับเจ้านายฝ่ายในหนึ่งหลัง พลับพลาริมน้ำ และพลับพลากลางเกาะ พร้อมทั้งปฏิสังขรณ์วัดชุมพลนิกายารามขึ้นใหม่

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า บางปะอินเป็นเกาะกลางน้ำ มึความเงียบสงบ มีเส้นทางการเดินเรือได้หลายทาง สมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเป็นสถานที่เสด็จประพาสของพระบรมชนกนาถ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ สำหรับแปรพระราชฐานดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้
บริเวณพระราชวัง พื้นที่ของพระราชวังบางปะอินนั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
  • เขตพระราชฐานชั้นนอก พระที่นั่งวโรภาษพิมาน
เขตพระราชฐานชั้นนอกนั้น เป็นบริเวณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้สำหรับการออกมหาสมาคมหรือ ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย
* หอเหมมณเฑียรเทวราช หรือ ศาลพระเจ้าปราสาททอง สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2415 - 2419 มีลักษณะเป็นปรางค์ศิลา ซึ่งจำลองแบบจากปรางค์ขอม ภายในประดิษฐานเทวรูปพระเจ้าปราสาททอง ตั้งอยู่ ณ ริมสระน้ำใต้ต้นโพธิ์
* พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เป็นพระที่นั่งทรงปราสาทโดยจำลองมาจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาทในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างพระบรมรูปหล่อสำริดของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขนาดเท่าพระองค์จริงในฉลองพระองค์ เต็มยศจอมพลทหารบกเพื่อนำมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งองค์นี้จนถึงปัจจุบัน
* พระที่นั่งวโรภาษพิมาน รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2415 เพื่อใช้เป็นที่เสด็จออกว่าราชการ และใช้เป็นที่ประทับ เป็นตึก 2 ชั้น ศิลปะแบบคอรินเทียนออร์เดียน ปัจจุบัน พระที่นั่งองค์นี้ยังใช้เป็นที่ประทับแรมของพระบรมวงศ์เมื่อเสด็จแปร พระราช ฐานมาประทับ ณ พระราชวังบางปะอิน
* สภาคารราชประยูร เป็นตึกสองชั้น ตั้งอยู่ริมน้ำ รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2419 สำหรับเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ ในรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ และเจ้านายฝ่ายหน้า ปัจจุบัน ใช้เป็นที่แสดงนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับพระราชวังบางปะอิน


  • เขตพระราชฐานชั้นใน หอวิฑูรทัศนาและพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ
เขตพระราชฐานชั้นใน เป็นที่ประทับของของพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสี พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน และข้าบาทบริจาริกา ประกอบด้วย
* พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร เป็นพระที่นั่งองค์ประธานของพระราชวังบางปะอิน เดิมเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ทาสีเขียวอ่อนและเขียวแก่สลับกัน แต่เกิดไฟไหม้พระที่นั่งทั้งองค์ระหว่างการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2481 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถจึงได้ขอพระบรมราชานุญาตให้สร้างพระที่นั่งองค์นี้ขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นที่ประทับในการเสด็จแปรพระราชฐาน และรับรองพระราชอาคันตุกะ
* หอวิฑูรทัศนา สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 เพื่อใช้เป็นที่ทอดพระเนตรโขลงช้างป่า และภูมิประเทศโดยรอบพระราชวัง เป็นหอสูง 3 ชั้น ทาสีเหลืองสลับแดง
* พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ เป็นพระที่นั่งองค์สุดท้ายที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5 โดยมีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีน เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นโดยชาวไทยเชื้อสายจีนเพื่อถวายแด่รัชกาลที่ 5 พระที่นั่งองค์นี้ยังใช้ประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้ายจนถึงปัจจุบัน
* พระตำหนักฝ่ายใน เป็นหมู่พระตำหนัก ตำหนัก และเรือนของพระบรมวงศ์ฝ่ายใน เป็นอาคารที่มีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกชั้นเดียว และสองชั้น เรียงรายกัน แต่ในปัจจุบัน ได้มีการรื้อตำหนักลงบางส่วน
* อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ เป็นอนุสาวรีย์ที่รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ซึ่งสวรรคตในระหว่างการเสด็จแปรพระราชฐานมายังพระราชวังบางปะอิน
* อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ เป็นอนุสาวรีย์ที่รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึง พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง ซึ่งสิ้นพระชนม์ภายในปีเดียวกัน

  • เหตุการณ์สำคัญ
กรณีสวรรคตของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ทรงเป็นพระราชธิดา ลำดับที่ 50 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชโองการให้จัดเรือพระที่นั่งเพื่อเสด็จประพาสพระราชวัง บางปะอินพร้อมพระมเหสีทุกพระองค์ แต่เนื่องจากพระองค์ทรงติดพระราชกิจ ไม่อาจเสด็จพระราชดำเนินไปตามกำหนดได้ จึงโปรดฯ ให้เรือพระที่นั่งของพระมเหสีเคลื่อนขบวนไปก่อน ระหว่างทางนั้น เรือพระประเทียบของพระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ (พระยศขณะนั้น) ประสบอุบัติเหตุล่ม ทำให้พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ สิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์ รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในพระครรภ์ (เวลานั้นทรงพระครรภ์ได้ 5 เดือน) หลังจากนั้น รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสาวรีย์หินอ่อนขึ้น ณ พระราชวังบางปะอิน เพื่อรำลึกถึงสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ และพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์

  • การต้อนรับพระราชอาคันตุกะ
พระราชวังบางปะอิน ใช้เป็นที่ต้อนรับพระราชอาคันตุกะหลายพระองค์ โดยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการต้อนรับแกรนด์ดุ๊กซาร์วิตส์แห่งรัสเซีย (พระยศขณะนั้น) ณ พระราชวังบางปะอิน ในระหว่างวันที่ 20 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2434 ซึ่งงานรับเสด็จในครั้งนั้นเป็นงานที่ใหญ่มาก จนกระทั่ง เกิดคำพูดสำหรับคนที่ทำอะไรใหญ่ ๆ โต ๆ ว่า "ยังกับรับซาร์แห่งรัสเซีย"
นอกจากนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยังใช้รับรอง และพระราชทานเลี้ยงแก่
พระราชอาคันตุกะ อาทิเช่น เจ้าหญิงบีทริกซ์แห่งประเทศฮอลแลนด์ เจ้าหญิงมากาเรตเต้แห่งประเทศเดนมาร์ก เจ้าหญิงเอเลน่าแห่งประเทศสเปน สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เจ้าชายอากินิโนแห่งประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

งานบำเพ็ญพระราชกุศลพระศพของพระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์ กรมขุนสุพรรณภาควดี ทรงเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติก่อนที่พระองค์จะเสด็จฯ ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทรงเป็นพระราชธิดาคู่ทุกข์คู่ยากของรัชกาลที่ 5 หลังจากการทรงกรมเป็น "กรมขุนสุพรรณภาควดี "ได้เพียง 1 ปี ก็สิ้นพระชนม์ รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานบำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระราชวังบางปะอิน โดยใช้พระที่นั่งไอสวรรย์ทิพยอาสน์เป็นที่ประดิษฐานพระศพ และโปรดให้จัดงานพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดนิเวศธรรมประวัติ ซึ่งถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก จนเป็นที่กล่าวขานในหมู่ชาววังว่า ใครไม่ได้มาร่วมงานในครั้งนี้ถือเป็นคนนอกสังคมชาววัง
ในระหว่างการจัดงานพระราชทานเพลิงพระศพนั้น สมเด็จเจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร ซึ่งทรงสนิทกับพระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์มาก เกิดทรงพระประชวรและสิ้นพระชนม์ ณ วรนาฎเกษมสานต์ ภายในพระราชวังบางปะอินนั่นเองซึ่งในนวนิยายเรื่อง สี่แผ่นดิน ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้ไว้ว่า “เชิญพระศพพระเจ้าลูกเธอพระองค์หนึ่งขึ้นไป แล้วก็กลับต้องเชิญพระศพอีกพระองค์หนึ่งลงมา ”[14]

  • การพระราชพิธีอภิเษกสมรสของเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชกรุณาฯ ให้ประกอบพระราชพิธีอภิเษกสมรสของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา (พระยศขณะนั้น) กับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ (พระยศขณะนั้น) ในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2461 ณ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอิน ซึ่งถือเป็นพระราชพิธีอภิเษกสมรสครั้งแรก หลังจากการตรากฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการเสกสมรสแห่งเจ้านายในพระราชวงศ์

  • พระราชพิธีสังเวยพระป้าย พระที่นั่งเวหาศจำรูญ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระป้ายพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์เป็นภาษาจีนโดยให้ประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระราชวังดุสิต และพระที่นั่งเวหาศจำรูญ พระราชวังบางปะอิน เพื่อบูชาบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อมา ในรัชกาลที่ 7 ได้มีการสร้างพระป้ายพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งเวหาศจำรูญ พระราชวังบางปะอิน

พระราชพิธีสังเวยพระป้ายนั้น เริ่มมีตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 การสังเวยพระป้าย ณ พระที่นั่งเวหาศจำรูญ พระราชวังบางปะอิน จะกระทำก่อนวันตรุษจีน 1 วัน ซึ่งตรงกับวันไหว้ของจีนโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ มาประกอบพระราชพิธีเป็นประจำทุกปี แต่ในปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์เสด็จแทนพระองค์เพื่อประกอบพระราชพิธี

การเข้าชม พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร ไม่เปิดให้เข้าชมภายในพระที่นั่ง
ถึงแม้ว่าพระราชวังบางปะอินยังคงใช้เป็นสถานที่เสด็จแปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงเป็นสถานที่ในการประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้ายและต้อนรับพระราช อาคันตุกะ อย่างไรก็ตาม พระราชวังบางปะอินก็ยังเปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เข้าชมภายใน พระราชวังได้

สำหรับพระที่นั่งวโรภาษพิมานนั้น ผู้ชายไม่ควรใส่กางเกงขาสั้น หรือสวมเสื้อที่ไม่สุภาพ สตรีต้องใส่กระโปรงเข้าชมภายในพระที่นั่ง โดยมีบริการให้ยืมเครื่องแต่งกายได้บริเวณอาคารการ์ดทหาร และพระที่นั่งวโรภาษพิมานและพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญนั้น มีวิทยากรบรรยายความรู้เกี่ยวกับพระที่นั่งแต่ไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพภายในพระที่นั่ง ส่วนพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรนั้น ไม่อนุญาตให้เข้าชมภายในพระที่นั่งได้

พระราชวังบางปะอิน เปิดให้เข้าชมทุกวันในเวลาระหว่าง 08.00 - 17.00 น. โดยต้องแต่งกายในชุดสุภาพ และขณะเข้าชมผู้ชมไม่ควรส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น

  • การเดินทาง
*การเดินทางมายังพระราชวังบางปะอินนั้น สามารถทำได้หลายทาง เช่น การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ถ้ามาจากกรุงเทพฯ ให้มาตามถนนพหลโยธิน เมื่อถึงประตูน้ำพระอินทร์ ให้ข้ามสะพานวงแหวนรอบนอก หลังจากนั้น ให้เลี้ยวซ้ายบริเวณกิโลเมตรที่ 35 สู่ทางหลวงหมายเลข 308 อีกประมาณ 7 กิโลเมตรก็จะถึงพระราชวังบางปะอิน หรืออีกเส้นทางต้องผ่านเข้ามายังตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา เมื่อถึงเจดีย์วัดสามปลื้มให้เลี้ยวซ้ายซึ่งจะผ่านวัดใหญ่ชัยมงคลและวัดพนัญเชิง เมื่อถึงสถานีรถไฟบางปะอินให้เลี้ยวขวา แล้วขับไปตามทางจนถึงพระราชวังบางปะอิน

*การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ถ้ามาจากกรุงเทพฯ สถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) นั่งรถสายกรุงเทพฯ-บางปะอิน มาลงที่บขส.บางปะอิน (สุดสาย) จากนั้นนั่งรถสามล้อเครื่องไปลงที่พระราชวังบางปะอิน

*นอกจากนี้ ยังสามารถเดินทางโดยรถไฟ มาลงที่สถานีรถไฟอำเภอบางปะอิน หรือเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง มาลงที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แล้วต่อรถโดยสารเข้าไปยังพระราชวังบางปะอิน

No comments:

Post a Comment